โจทย์และใบงานวิชาโปรแกรมโครงสร้าง
คำสั่ง : กำหนดให้นักเรียนนักศึกษาแก้ปัญญาโจทย์ข้อย่อยต่อไปนี้ และกำหนดให้ตั้งชื่อ ฟังช์ชั่นและตัวแปรต้องสื่อความหมายให้ตรงกับนักเรียนเท่านั้น ห้ามส่งข้อมูลระหว่างกัน ฝาฝืนหักคะแนนขจรศักดิ์ 26/03/2567
1. กำหนดให้เขียนโปรแกรมคำนวณหาค่าเฉลี่ยของจำนวนเต็ม 10 จำนวนโดยเขียนให้รับค่า input จากฟังก์ชั่นหลัก 10 จำนวน แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ฟังก็ชั่นย่อย เมื่อประมวลผลเสร็จแล้วให้คืนค่ากลับมาที่ฟังก็ชั่นหลักและแสดงผลที่ฟังก็ชั่นหลัก
2. กำหนดให้เขียนโปรแกรมรับค่า input 2 จำนวน แล้วส่งค่าเหล่านั้นไปยังฟังก์ชั่นย่อยแล้วประมวลผลด้วยการบวกข้อมูลที่ฟังก์ชั่นย่อย แล้วให้คืนค่าเหล่านั้นกลับมาแสดงผลที่ฟังชั่นหลัก (สามารถป้อนได้ทั้ง จำนวนเต็ม และจำนวนจริง)
3. กำหนดให้เขียนโปรแกรมรับค่า input 2 จำนวน แล้วส่งค่าเหล่าานั้นไปยังฟังก์ชั่นย่อยแล้วประมวลผลการยกกำลังของข้อมูลที่ฟังก์ชั่นย่อย แล้วให้คืนค่าเหล่านั้นกลับมาแสดงผลที่ฟังก์ชั่นหลัก (ป้อนด้วยจำนวนเต็ม)
4. กำหนดให้เขียนโปรแกรมรับค่า input 1 จำนวน(เลขจำนวนเต็ม) แล้วส่งค่าเหล่านั้นไปยังฟังก์ชั่นย่อยแล้วจึงประมวลหาจำนวนเฉพาะในช่วง 1 ถึง 20 จำนวนแล้วให้แสดงผลลัพธ์ที่ฟังก์ชั่นย่อยนั้น
27/03/2567------------------------------------------
5. เขียนโปรแกรมรับค่าคะแนนสอบของนักเรียน จากนั้นแสดงผลลัพธ์ว่า "สอบผ่าน" หรือ "สอบตก" โดยใช้เกณฑ์คะแนน 60 ขึ้นไปคือสอบผ่าน (รับค่าจากฟังก์ชั่นกลักแล้วไปประมวลผลที่ฟังก์ชั่นย่อย)
6. เขียนโปรแกรมรับค่าอุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) จากนั้นแสดงผลลัพธ์ว่า "อากาศร้อน" "อากาศเย็น" หรือ "อากาศปกติ" โดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิ 30 องศาขึ้นไปคืออากาศร้อน 20 องศาถึง 29 องศาคืออากาศปกติ และต่ำกว่า 20 องศาคืออากาศเย็น
7. เขียนโปรแกรมรับค่ารหัสผ่าน (password) จากผู้ใช้ 3 ครั้ง(รหัสผ่านต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 6 ตัวอักษรการตรวจสอบให้อยู่ในฟังก์ชั่นย่อย)
ถ้าผู้ใช้ใส่รหัสผ่านผิด แสดงข้อความ "Password mistake"
ถ้าผู้ใช้ใส่รหัสผ่านถูกต้อง แสดงข้อความ "Password Correct"
8. เขียนโปรแกรมหาค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของตัวเลข 3 ตัวจากการป้อน input 3 จำนวนเช่น 20,4,60 ให้แสดง 60 : hight 4 : low (กำหนดให้การเปรียบเทียบเงื่อนไข อยู่ในฟังก์ชั่นย่อยโดยรับค่าทั้งสามค่ามาจากฟังก์ชั่นหลัก)
28/03/2567------------------------------------------
9. กำหนดให้เขียนโปรแกรมเพื่อหาค่าแฟกทอเรียลของจำนวนที่รับมาจาก Input แล้วส่งไปประมวลผลที่ฟังก์ชั่นย่อย (โดยมีขอบเขต 1 ถึง 10 แต่หากมีการป้อนเลข 0 ให้แสดงข้อความ "Error" แฟกทอเรียล คืออะไร(คลิก) )
10. กำหนดให้เขียนโปรแกรมเพื่อบอกลัพธ์ของตัวเลขแต่ละตัวเมื่อมีการหารด้วย 3 หรือ 5 ลงตัว เช่น "12 yes","13 not","14 yes","15 double yes" (กำหนดให้มีขอบเขตข้อมูล 1 ถึง 500 (ไม่มีการป้อน input) เรียกใช้งานในฟังก์ชั่นย่อย)
11. กำหนดให้เขียนโปรแกรมแสดงสูตรคูณของจำนวนที่รับเข้ามา 2 input คือ 1 ตัวตั้ง 2 จำวนสูงสุดที่คูณ (เรียกใช้งานในฟังก์ชั่นย่อย)
12. กำหนดให้เขียนโปรแกรมเพื่อแปลงอุณหภูมิจากองศาเซลเซียสเป็นองศาฟาเรนไฮต์ หรือกลับกันได้โดยให้ผู้ใช้เลือกการแปลงได้เอง (รับค่า 2 inputจาก terminal 1. คือค่าอุณหภูมิ 2. คือโหมดการแปลง "fahrenheit to celsius" หรือ ""celsius to fahrenheit" ออกแบบการเลือกโหมดเอาเอง ( เรียกใช้งานในฟังก์ชั่นย่อย แล้วคืนค่ากลับมาแสดงผลลัพธ์ที่ฟังก์ชั่นหลัก)
29/03/2567----------------- data struct -------------------------
13. กำหนดให้เขียนโปรแกรมรับค่าจาก input โดยให้พิมพ์ชื่อนักเรียนนักศึกษา ชื่อ-สกุล แล้วแสดงผลลัพธ์เป็นการนับตัวอักษรของ input ที่พิมพ์เข้ามา และเอาผลลัพธ์นั้นมาแสดงผลหากเป็นเลขคู่แสดงคำว่า "good name " เมื่อเป็นเลขขี่แสดงคำว่า "cool name (เขียนให้อยู่ในฟังก์ชั่นย่อย )
14. กำหนดให้เขียนโปรแกรมบันทึกค่าของนักเรียนแต่ละคนโดยมีข้อกำหนดต่อไปนี้ โปรแกรมจะถามก่อนว่าต้องการบันทึกนักเรียนกี่คนสามารถเลือกได้ (แต่ไม่เกิน 5 คน) เมื่อเลือกแล้วโปรแกรมจะให้ ป้อนของค่านักเรียนคนที่ 1 โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. ชื่อ 2.สกุล 3.อายุ 4.เกรด แล้วให้เราป้อนให้ครบตามจำนวนคนที่กำหนดไว้ในตอนแรก เมื่อครบคนสุดท้ายแล้วให้แสดงผลลัพธ์ของทุกคนออกมาให้ชัดเจน (เขียนให้อยู่ในฟังก์ชั่นย่อยใดก็ได้ ชุดข้อมูลใช้งาน data struct)
15. กำหนดให้ปรับปรุงโปรแกรมของข้อย่อยที่ 14. โดยให้เพิ่มเมนูเข้าไปโดยจะมีข้อความแสดงเมนูหลัก 2 ตัวคือ 1.INPUT data (เมื่อเลือกในข้อนี้แล้วให้ทำในข้อย่อยที่ 14 เมื่อทำเสร็จแล้วให้กลับไปเริ่มต้นใหม่) 2.delete data ( ในหัวข้อย่อยที่ 2 delete data เมื่อกดแล้วโปรแกรมจะถามว่าต้องการลบข้อมูลคนใด (ข้อมูลสูงสุด 5 คน) เมื่อกดลบแล้วให้แสดงผลทันทีแล้วย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่ (เขียนให้อยู่ในฟังก์ชั่นใดก็ได้)
01/04/2567---------------- read/write file และ องค์ประกอบของฟังก์ชั่น ------------
16. กำหนดให้นักเรียนนักศึกษาเขียนโปรแกรมรับค่าจาก input จำนวน 2 input เพื่อใช้ในการคำนวนหาผลลัพธ์สูตรคูณโดยกำหนดให้ input 1: แม่สูตรคูณ ,input 2 จำนวนสูงสุดที่ต้องการคูณและแสดงคำว่า "success" ต่อท้ายเมื่อผลคูณเสร็จ เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วให้นำการแสดงผลเหล่านั้นบันทึกลง file โดยกำหนดให้ชื่อไฟล์เป็นชื่อของนักเรียน(คำว่า success จะไม่ถูกบันทึกลงใน file การตรวจสอบให้เปิดไฟล์ .txt ดูว่าข้อมูลถูกบันทึกจริงหรือไม่)
17. จงปรับปรุงโปรแกรมจากข้อย่อยที่ 16. กำหนดให้เมื่อมีการแสดงผลจาก terminal ที่เป็นผลลัพธ์ของการคูณเสร็จแล้ว จงเพิ่มให้มีการรับค่า intput อีก 1 input โดยมีเงื่อนไขคือเมื่อมีการพิมพ์คำว่า "show" ให้แสดงผลค่าสูตรคูณ( ต้องพิมพ์คำว่า show เท่านั้น) จากการอ่านข้อมูล file ที่ถูกบันทึกไว้แล้วก่อนหน้านี้ (ผลสูตรคูณ)
18. กำหนดให้นักเรียนนักศึกษาเขียนโปรแกรมสร้างเมนูตัวเลือกเพื่อเลือกเข้าใช้งาน file โดยมีตัวเลือกทั้งหมด 5 ตัวเลือก เมื่อเลือกแล้วให้นำข้อมูลจาก file นั้นๆมาแสดงผล (1.file idNumber_std , 2.file Name, 3 file tel. Number , file grade โดยข้อมูลภายในให้สมมุติขึ้นมาไม่น้อยกว่า 5 บรรทัด) ตัวเลือกที่ 5 จบโปรแกรม (โปรแกรมวนซ้ำจนว่าจะเลือก ตัวเลือกที่ 5)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น